เปิดมาตรการลดหย่อนภาษี การท่องเที่ยวในช่วง 1 พฤษภาคม 2567 – 30 พฤศจิกายน 2567 ธุรกิจ-นักท่องเที่ยว ประชุมสัมมนา ใครได้ลดหย่อนเท่าไหร ?
มาตรการลดหย่อนภาษีนิติบุคคล 2567 นิติบุคคลที่ทำธุรกิจท่องเที่ยว นำรายจ่ายมาหักลดหย่อนภาษี รายการดังนี้
- ค่าห้องพัก
- ค่าห้องสัมมนา
- ค่าขนส่ง หรือรายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องในการอบรมสัมมนาภายในประเทศที่จัดขึ้นให้แก่ลูกจ้าง
- ค่าบริการของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวเพื่อการอบรมสัมมนา
- มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม-30 พฤศจิกายน 2567 หักเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
- หักรายจ่ายได้ 2 เท่า สำหรับการอบรมสัมมนาที่จัดในจังหวัดท่องเที่ยวเมืองรอง
- หักรายจ่ายได้ 2 เท่า ในพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นใดที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
กรณีการสัมมนาที่จัดในท้องที่อื่นนอกจากพื้นที่เมืองรอง และพื้นที่ที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด หักภาษี ได้ดังนี้
- หักรายจ่ายได้ 1.5 เท่า สำหรับการอบรมสัมมนาที่จัดในท้องที่อื่น
- ในกรณีที่การสัมมนาเกิดขึ้นในท้องที่อื่น นอกจากเมืองรองและท้องที่ตามที่กรมสรรพากรกำหนด ต่อเนื่องกัน ให้หักรายจ่ายที่สามารถแยกได้ว่าเกิดขึ้นในท้องที่ใด และถ้าแยกไม่ได้ให้หัก 1.5 เท่าของรายจ่ายตามที่จ่ายจริง
ทั้งนี้ มาตรการลดหย่อนภาษีนิติบุคคล 2567 ต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt)
ประโยชน์ที่ได้รับจาก E-Tax
- ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายทางบัญชี การเงิน ปริมาณการใช้กระดาษและการจัดส่งเอกสาร
- สามารถจัดเก็บเอกสารอย่างเป็นระบบ และมีระเบียบตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำเอกสาร จนถึงขั้นตอนการชำระภาษีสำหรับองค์กรธุรกิจ
- ลดต้นทุนการจัดเก็บ / รักษาเอกสาร / เอกสารไม่เสียหายหรือสูญหาย
- เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
- นำข้อมูลไปใช้ในการประมวลผลในระบบสารสนเทศ เพื่อประโยชน์ขององค์กร
- มีความน่าเชื่อถือและผลผูกพันทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
หากบริษัทอยากทำ e-Tax Invoice and e-Receipt ต้องดำเนินการอย่างไร?
- เตรียมความพร้อมภายในองค์กร โดยบริษัทจะต้องปรับปรุงหรือพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่จะใช้ในองค์กรให้สามารถรองรับการจัดทำ ส่งมอบ และจัดเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้
- จัดหาใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ประกอบการจะต้องจัดหาใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้สร้างลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ที่ออกจากผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Certification Authority: CA) ที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าหรือคู่ค้าในการรับและส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกัน
- ยื่นคำขอ เพื่อเป็นผู้ประกอบการจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ โดยลงทะเบียนและตรวจสอบลายมือชื่อดิจิทัลที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร (https://etax.rd.go.th) ดาวน์โหลดโปรแกรม Ultimate Sign & Viewer มาติดตั้ง และลงทะเบียน บ.อ.01 ผ่านโปรแกรม
- จัดทำและนำส่ง ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ส่งมอบแก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการการเป็นไปตามข้อตกลงทางการค้าระหว่างกัน สำหรับการนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรนั้นต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ขมธอ.3-2560 โดยสามารถเลือกรูปแบบการนำส่งข้อมูลที่เหมาะสมกับองค์กรได้ 3 ช่องทาง ได้แก่ Upload, Host to Host และผู้ให้บริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Service Provider)
- เก็บรักษา ผู้จัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ต้องจัดเก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ถูกต้องปลอดภัยตามที่กฎหมายกำหนด
จากทั้ง 5 ขั้นตอน Brainergy เรามีผู้ทีมเชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาตั้งแต่เริ่มต้น โดยเราผ่านการรับรองจาก ETDA (สพธอ.) ให้เป็น Advanced Service Provider ผู้ให้บริการ e-Tax Invoice and e-Receipt ซึ่งสามารถจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาข้อมูลภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ระดับพื้นฐานและระดับสูง โดยระบบของเราจะมีการตรวจสอบความถูกต้องและความครบถ้วนของข้อมูลให้เป็นไปตามมาตรฐาน ขมธอ.3/2560 ก่อนที่จะดำเนินการจัดทำไฟล์ นำไปลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ให้กับทางคู่ค้า นำส่งข้อมูลให้กับทางกรมสรรพากร และจัดเก็บข้อมูลไว้บน Cloud Storage ที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล สามารถเรียกดูหรือค้นหาข้อมูลได้อย่างง่ายดายตลอดเวลา