เมื่อผู้ประกอบการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้ซื้่อสินค้าหรือผู้รับบริการแล้ว มีหน้าที่ต้องนำส่งข้อมูลในรูปแบบ XML ให้แก่กรมสรรพากรได้ 3 วิธี ได้แก่ การอัปโหลดข้อมูลผ่านเว็บไซต์ (Upload XML) การส่งข้อมูลโดยผู้ให้บริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Service Provider) และการส่งข้อมูลโดยเชื่่อมต่อระบบข้อมูลกับกรมสรรพากร (Host to Host) ซึ่งวันนี้ Brainergy จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับการส่งข้อมูลภาษีฯ แบบ Host to Host กัน
การส่งข้อมูลภาษีฯ แบบ Host to Host คืออะไร?
เป็นช่องทางส่งข้อมูล XML สำหรับองค์กรหรือผู้ประกอบการที่มีปริมาณข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมาก และอยู่ภายใต้การดูแลของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ มีความพร้อมในการพัฒนาระบบรับส่งข้อมูลตามมาตรฐาน ebXML (ขมธอ.14-2560) โดยมีระบบงานที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบข้อมูลของกรมสรรพากรโดยตรง เพื่อนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกัน ซึ่งการใช้ช่องทางนำส่งวิธีนี้ผู้ประกอบการต้องยื่นคำขออนุมัติต่อกรมสรรพากร และทำการทดสอบนำส่งข้อมูลกับกรมสรรพากรก่อนนำส่งข้อมูลจริง
ขั้นตอนการยื่นคำขอและทดสอบการนำส่งข้อมูลแบบ Host to Host
- ผู้ประกอบการจะต้องเป็นผู้ได้รับอนุมัติจัดทำและนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ โดยการยื่นคำขอเป็นผู้ประกอบการนำส่งข้อมูลวิธี Host to Host
- ผู้ประกอบการตรวจสอบคุณสมบัติและแจ้งความประสงค์ขอนำส่งข้อมูลผ่านช่องทาง Host to Host
- กรมสรรพากรตรวจสอบและแจ้งผลการพิจารณาผ่านทาง email
- ผู้ประกอบการตรวจสอบ email และแจ้งข้อมูลเพื่อเชื่อมต่อระบบ กรณีผ่านการพิจารณาคุณสมบัติ ให้เข้าสู่ระบบบริการสมาชิก เพื่อบันทึกข้อมูลการเชื่อมต่อ ได้แก่ ข้อมูล IP Address, endpoint, SSL Certificat
- กรมสรรพากรสร้าง CPA ทดสอบ โดยนำข้อมูลของผู้ประกอบการไปสร้าง CPA ทดสอบและแจ้งให้ผู้ประกอบการดาวน์โหลด CPA ทดสอบ
- ผู้ประกอบการทดสอบส่งข้อมูลตามเงื่อนไขที่กำหนด โดย
- ดาวน์โหลด CPA สำหรับทดสอบไปตั้งค่าที่ระบบของผู้ประกอบการ
- ทดสอบนำส่งข้อมูล XML File 4 ประเภท ได้แก่ ใบกำกับภาษี, ใบเพิ่มหนี้, ใบลดหนี้, ใบรับ
- กรมสรรพากรเปิดสิทธิให้นำส่งข้อมูล กรณีผู้ประกอบการทดสอบนำส่งข้อมูลได้ตามเงื่อนไข ระบบจะเปิดให้ดาวน์โหลด CPA ใช้งานจริง
- ผู้ประกอบการตั้งค่าระบบเพื่อนำส่งข้อมูล โดยดาวน์โหลด CPA ใช้งานจริง ไปตั้งค่าที่ระบบนำส่งข้อมูลของผู้ประกอบการ
- นำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
การนำส่งข้อมูลแบบ Host to Host ผู้ออกใบกำากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์จะต้องได้รับการพิจารณาคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำาหนด และเข้าสู่กระบวนการทดสอบนำส่งข้อมูลตามหลักเกณฑ์ วีธีการและเงื่อนไขที่กำาหนด โดยมีข้อกำหนดทางเทคนิคที่ผู้ใช้งานควรทราบ เช่น จัดหาระบบงานที่สามารถเชื่่อมต่อกับระบบข้อมูลของกรมสรรพากรได้ ข้อมูลที่ส่งมีรูปแบบโครงสร้าง XML ตามมาตรฐานฯ ขมธอ.3-2560 และใช้การแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบ ebXML ตามมาตรฐานฯ ขมธอ.14-2560 โดยผ่านวงจร MPLS (MultiProtocol Label Switching) เป็นต้น
มาตรฐาน ebXML (Electronic Business Extensible Markup Language) ที่ใช้ในการส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร มีข้อกำหนดทางเทคนิคที่จะทำให้ผู้ส่งและผู้รับข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบ XML Format สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ด้วยมาตรฐานหรือข้อกำหนดที่เข้าใจตรงกัน โดยกรมสรรพากรเป็นผู้สร้างข้อมูล CPA (Collaboration Protocol Agreement) ให้แก่ผู้นำส่งสำหรับส่งข้อมูลทดสอบและใช้นำส่งจริง โดยให้ผู้ส่งดาวน์โหลดข้อมูล CPA และนำไปต้ังค่าระบบ (Configuration) นำส่งข้อมูลให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างกันได้ตามที่ตกลงกัน
การนำส่งข้อมูล XML ตามมาตรฐาน ebXML หรือ ebXML Protocol เปรียบเทียบได้กับการนำส่งข้อมูลหรือเอกสารที่ห่อหุ้มด้วยซองจดหมายที่ต้องระบุผู้รับปลายทางและผู้นำส่งต้นทาง ที่นำส่งถึงผู้รับด้วยวิธีปลอดภัย และเชื่่อถือได้ มีรูปแบบโครงสร้างดังภาพ
สำหรับองค์กรหรือผู้ประกอบการใดที่สนใจต้องการนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ โดยการเชื่่อมต่อระบบข้อมูลกับกรมสรรพากร (Host to Host) สามารถติดต่อขอรับบริการได้จาก Brainergy หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบจัดการภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice and e-Receipt) สามารถเข้าไปดูได้ที่
Website: www.brainergy.digital
Email: info@brainergy.digital
Tel: 02-016-5355 กด 8
#Brainergy #เบรนเนอร์จี้ #SmartTax #eTaxInvoice #eReceipt #ระบบจัดการภาษีอิเล็กทรอนิกส์ #serviceprovider #ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์