e-KYC (Electronic Know your Customer) 

Home >  Products  >  e-KYC  

Why Digital Onboarding ?

ทำไม Digital Onboarding ถึงสำคัญ

ความต้องการใช้เทคโนโลยีการพิสูจน์และยืนยันตัวตน ตัวยออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น สถานการณ์ที่ต้องเว้นระยะห่าง รวมถึงธุรกิจต่าง ๆ ที่ต้องการจะลดต้นทุนและเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้า ทำให้การพิสูจน์และยืนยันตัวตน จำเป็นต้องถูกพัฒนาเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์แทนที่ โดยใช้ข้อมูลทางชีวภาพของแต่ละคนที่มีอยู่เฉพาะตัว เพื่อยืนยันการทำธุรกรรมต่าง ๆ  ไม่ว่าจะเป็น ใบหน้า ลายนิ้วมือ ฝ่ามือ หรือรหัสพันธุกรรม

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกค้า เพื่อเข้าถึงบริการออนไลน์มากขึ้น ทั้งเรื่องงาน การซื้อขายสินค้า การทำธุรกรรมทางการเงิน รวมถึงขอรับบริการต่าง ๆ  ทำให้ธุรกิจเป็นต้องสร้างช่องทางออนไลน์ที่มีการพิสูจน์และยืนยันตัวตนอย่างถูกต้อง เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการได้ง่าย ปลอดภัย ซึ่งส่งผลต่อการเติบโตของธุรกิจในอนาคต

Digital Onboarding ช่วยเพิ่มความสะดวกและปลอดภัย เพราะเป็นรูปแบบที่เข้ามาช่วยพิสูจน์และยืนยันตัวตนของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นผู้ให้บริการ และผู้ขอรับบริการ จะได้ประโยชน์ร่วมกัน  สถาบันการเงินหรือธุรกิจอื่น ๆ ก็สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างเหมาะสม ป้องกันการกระทำความผิด เช่น การใช้ตัวตนปลอม หรือใช้ข้อมูลบุคคลอื่นในการเปิดบัญชี ลักลอบใช้บัญชีซื้อขายแทนกัน รวมถึงการยักยอกเงินโดยที่เจ้าของบัญชีไม่ทราบ

ส่วนผู้ขอรับบริการจะได้รับความสะดวก ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปที่สาขา ก็สามารถพิสูจน์และยืนยันตัวตน ได้อย่างรวดเร็วผ่านเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือช่องทางออนไลน์อื่น รวมทั้งมีความปลอดภัยเพราะใช้ข้อมูลทางชีวภาพในการพิสูจน์และยืนยันตัวตน ซึ่งรองรับ NDID (National Digital ID)  ที่เป็นมาตรฐานการยืนยันตัวตนของภาครัฐ  ยกตัวอย่างเช่น การเปิดบัญชีธนาคารที่ปัจจุบันสามารถเปิดได้ผ่าน Smart Phone ทำให้ไม่ต้องเดินทางไปสาขา ลดการสัมผัส แถมได้ประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่มากกว่าเดิม

 

Electronic Know your Customer (E-KYC) ?

มาตรฐานยืนยันตัวตน คืออะไร ทำงานอย่างไร

ประเทศไทย มีมาตรฐานในการพิสูจน์และยืนยันตัวตน ที่เรียกว่า e-KYC (Electronic know your customer) ซึ่งเป็นหนึ่งในรูปแบบของการทำ Digital Onboarding เพื่อทำธุรกรรมออนไลน์ได้อย่างปลอดภัย มาตรฐานนี้ถูกกำหนดโดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้นำข้อกำหนด Special Publication 800-6 3 A – Digital Identity Guidelines – Enrollment and Identity Proofing ของหน่วยงาน National Institute of Standards and Technology (NIST)  มาประยุกต์เป็นแนวทางการใช้งานของประเทศไทยเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล

e-KYC แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือระดับความน่าเชื่อถือของการยืนยันตัวตน(Identity Assurance Level) หรือ IAL และระดับความน่าเชื่อถือของสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน (Authenticator Assurance Level) หรือ AAL

 

e-KYC ปลอดภัยมากขนาดไหน

  • ต้องยอมรับว่า หากธุรกิจใดพัฒนา e-KYC ขึ้นมา จะต้องมีมาตรฐานการยืนยันระดับสากล ซึ่งการยืนยัน ตัวในมาตรฐานข้างต้นถือว่ามีความปลอดภัยมากที่สุด เพราะสามารถป้องกันการโจรกรรมข้อมูลส่วนตัว ตรวจสอบธุรกรรมการเงิน โดยเฉพาะเมื่ออาชญากรไซเบอร์มีความเชี่ยวชาญในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อโจรกรรมข้อมูลจากบริษัทและลูกค้า การยืนยันตัวตนนี้เอง จะทำให้อาชญากรดำเนินการได้ยากมากขึ้น

ข้อดีของการใช้ e-KYC

  • ช่วยให้คนไทยทำธุรกรรมการเงินได้ง่ายขึ้น พร้อมทั้งมีการตรวจสอบด้วยอัตลักษณ์บุคคล เช่น การสแกนใบหน้า
  • ช่วยให้สามารถระบุไอดีที่เป็นกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล และการยากต่อการปลอมแปลง
  • ลดระยะเวลาการดำเนินการไม่ถึง 10 นาที จาก 1 – 2 ชั่วโมง
  • ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีมาก สามารถทำตามขั้นตอนได้ง่าย ๆ ลูกค้าสามารถรับประสบการณ์ที่ดีในการขอรับบริการ
  • ลดต้นทุนของธุรกิจ ในการตรวจสอบและจัดเก็บเอกสาร

เหมาะสำหรับองค์กรทุกขนาด 

ข้อมูลจาก https://www.techhub.in.th/digital-onboarding-end-the-transactions-problem-in-the-age-of-identity/

บทความ

รู้จักโครงการ e-Refund ลดหย่อนภาษีได้มากถึง 50,000 บาท เมื่อซื้อสินค้าและบริการที่ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567

รู้จักโครงการ e-Refund ลดหย่อนภาษีได้มากถึง 50,000 บาท เมื่อซื้อสินค้าและบริการที่ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567

รู้จักโครงการ e-Refund ลดหย่อนภาษีได้มากถึง 50,000 บาท...

ทดลองใช้งานฟรี!

สนใจทดลองใช้บริการ      SmartTAX | SmartFLOW | SmartSIGN     ฟรี! คลิกเลย!

เพื่อให้เป็นไปตาม พรบ.การคุ้มครองและป้องกัน ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน กรุณาศึกษารายละเอียด นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อรับทราบและยอมรับข้อตกลงต่างๆ กรุณาคลิก "ยินยอม" เพื่อเข้าสู่เว็บไซต์ของบริษัทฯ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save