What’s RPA ?

RPA คืออะไร ทำงานอย่างไร

Robotic Process Automation (RPA)

RPA หรือ Robotic Process Automation เป็นเทคโนโลยีที่เกิดจากการรวมกันของการนำ Robot หรือหุ่นยนต์ มาทำงานในรูปแบบของ Process หรือกระบวนการทำงานโดยเลียนแบบพฤติกรรมการทำงานต่างๆ ของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นการนำข้อมูลจากระบบหนึ่งไปคีย์ข้อมูลใส่ให้กับอีกระบบหนึ่ง โดยมีรูปแบบการทำงานที่มีขั้นตอนอย่างชัดเจน ไม่ซับซ้อน ตรงไปตรงมา ซึ่งปริมาณงานมีจำนวนมากทำให้ใช้เวลาในการทำงานมากตามไปด้วย จากนั้นRobot จะนำการทำงานแบบนี้มาพัฒนาในรูปแบบที่มีความเป็น Automation เพิ่มมากขึ้นโดยRobot สามารถทำงานได้ด้วยตัวRobot เอง100% หรือบางProcess อาจจะต้องมีมนุษย์มาทำงานร่วมกันกับ Robot ได้อีกด้วย 

RPA เข้ามาช่วยองค์กรพัฒนาการทำงานภายในองค์กรให้มีมาตรฐานและมีระบบการทำงานที่มีความเป็นระเบียบมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดความผิดพลาดในการทำงานของมนุษย์ซึ่งทำให้ได้งานที่มีคุณภาพและปริมาณเพิ่มมากขึ้นโดยใช้เวลาในการทำงานน้อยลงมากกว่า 50% ซึ่ง Robot สามารถทำงานได้มากกว่ามนุษย์ถึง3เท่าหรือ24ชั่วโมงนั่นเอง โดยไม่มีปัจจัยต่างๆมาเกี่ยวข้อง เช่น ลางาน, ป่วย และ ค่าใช้จ่ายต่างๆที่เพิ่มขึ้นเช่น โบนัส, ค่าเดินทางและค่าโทรศัพท์ เป็นต้น 

 

ประเภทของ Robot RPA

RPA แบ่งการทำงานของ Robot ออกเป็น 2 ประเภทตามการใช้งานดังนี้ 

  • Unattend Robot เป็น Robot ที่ทำงานแบบอัตโนมัติได้ตลอด24ชั่วโมง เหมาะกับประเภทของงานที่มีปริมาณงานจำนวนมาก ขั้นตอนไม่ซับซ้อน ไม่ต้องมีการตัดสินใจที่ซับซ้อนหรือต้องมีปัจจัยภายนอกมาเกี่ยวข้อง และเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลานานในการทำ 

  • Attend Robot เป็น Robot ที่ทำงานโดยการรับคำสั่งจากมนุษย์ หรืองานประเภทที่ต้องมีการกระทำร่วมกับมนุษย์ เหมาะกับงานประเภทที่ต้องการการตัดสินใจ หรือการapproved จากมนุษย์ร่วมด้วยเพื่อให้ได้งานตามเวลาที่กำหนด 

 

RPA เหมาะกับงานแบบไหน

  • งานที่มีรูปแบบการทำงาน ขั้นตอน ที่ชัดเจน ไม่ซับซ้อน  
  • งานที่มีปริมาณจำนวนงานมากๆ ในแต่ละวัน 
  • งานที่ต้องใช้เวลาในการทำนาน 
  • งานที่ต้องใช้จำนวนคนในการทำมากกว่า1คน 
  • านที่ต้องทำตลอด 24ชั่วโมง 

 

ตัวอย่าง Process การทำงานที่เหมาะกับ RPA 

  • การนำข้อมูลจากระบบหนึ่งไปคีย์ข้อมูลใส่ให้อีกระบบหนึ่ง เช่น การสร้างข้อมูลของลูกค้าในระบบ ERP, CRM 
  • การอ่านข้อมูลที่ได้รับจากลูกค้าในรูปแบบของ Email และนำข้อมูลไปประมวลผลต่อเช่นการทำ summary report สรุปยอดขายของทางทีม Marketing 
  • การนำข้อมูลจาก Source ต่างๆเช่น ERP มาทำเป็น Documentในรูปแบบต่างๆเช่นการออกใบกำกับภาษี 
  • การMonitoring case support ต่างๆของทีม Operation และนำไปเปิดเป็น Incident ticket 
  • การนำข้อมูลจาก Website ที่เกี่ยวข้องมาทำการวิเคราะห์ในรูปแบบต่างๆ เช่น ข้อมูลสินค้าเพื่อทำการเปรียบเทียบกับคู่แข่ง 

ประโยชน์ที่ได้รับจาก RPA 

  • ลดความผิดพลาดจากการทำงานของมนุษย์ 
  • ลดเวลาการทำงานและเพิ่มปริมาณงานได้มากขึ้น 
  • ทางด้าน Security ลดโอกาสที่ข้อมูลของจะรั่วไหลและลดโอกาสของพนักงานที่จะเข้าถึงข้อมูลได้น้อยลง 
  • RPA ช่วยองค์กรให้สามารถขับเคลื่อนธุรกิจไปในทางที่ดีขึ้นโดยปรับปรุงและพัฒนาการทำงานขององค์กรให้มีรูปแบบและมีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น 
  • ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้อย่างมากรวมถึงเพิ่มมูลค่า ROI ให้กับองค์กร 

 

ลดความผิดพลาด

ลดความผิดพลาดจากการทำงานของมนุษย์

รวดเร็ว

เพิ่มปริมาณ Output ได้หลายเท่า

ต่อยอด

สามารถนำผลจากการทำงานของ bot พัฒนาปรับปรุงระบบ หรือสามารถนำไปใช้ในส่วนของ IT Audit ได้เช่นกัน

ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ

ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเนื่องจากบอทสามารถทำแทนมนุษย์ได้เพิ่มขึ้น

ปลอดภัย

ช่วยลดโอกาสที่ข้อมูลธุรกิจจะรั่วไหลสู่ภายนอก

ข้อดีของการใช้ RPA

  • ลดความผิดพลาดจากการทำงานของมนุษย์ได้
  • ทำงานได้เร็วขึ้นและเพิ่มปริมาณoutputได้หลายเท่า
  • ในประเด็นด้าน Security เองก็ถือว่าสำคัญเช่นกัน เพราะ RPA นั้นจะช่วยลดโอกาสที่ข้อมูลของธุรกิจจะรั่วไหลออกไปภายนอกลง เพราะพนักงานนั้นจะมีโอกาสได้เข้าถึงข้อมูลน้อยลงไปด้วย
  • จากผลการวิจัยพบว่าสามารถ FTE Full Time Equivalent (หน่วยนับที่ใช้บอกภาระงานของพนักงาน1คนที่ทำงานเต็มเวลา) เฉลี่ยอยุ่ที่ 20% ที่บอทสามารถทำงานแทนได้ทำให้ต้นทุนลดลงประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
  • ผลจากการทำงานของ bot สามารถนำข้อมูลไปพัฒนาหรือปรับปรุงระบบ หรือนำไปใช้ในส่วนของ it audit ได้เช่นกัน

เหมาะสำหรับองค์กรทุกขนาด เนื่องด้วย RPA นั้นสามารถช่วยลดงานรูทีน ไม่ว่าจะเป็นงานเอกสาร งานด้านบัญชี งานด้านการเงิน และงานด้านการขาย หรืองานที่มีรูปแบบการทำงานแบบเดิมซ้า ๆ 

Request RPA Form

Process Schedule Day

4 + 4 =

Workflow Process Step

1. Open Gmail.com

2. Enter Username and Password

3. Go to Inbox

4.Click Subject Mail “Download RPA”

5.Open email and Download attachment

6.Save as document on D://RPA/Project/path

7. Write status log in excel file

บทความ

รู้จักโครงการ e-Refund ลดหย่อนภาษีได้มากถึง 50,000 บาท เมื่อซื้อสินค้าและบริการที่ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567

รู้จักโครงการ e-Refund ลดหย่อนภาษีได้มากถึง 50,000 บาท เมื่อซื้อสินค้าและบริการที่ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567

รู้จักโครงการ e-Refund ลดหย่อนภาษีได้มากถึง 50,000 บาท...

ทดลองใช้งานฟรี!

สนใจทดลองใช้บริการ      SmartTAX | SmartFLOW | SmartSIGN     ฟรี! คลิกเลย!

เพื่อให้เป็นไปตาม พรบ.การคุ้มครองและป้องกัน ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน กรุณาศึกษารายละเอียด นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อรับทราบและยอมรับข้อตกลงต่างๆ กรุณาคลิก "ยินยอม" เพื่อเข้าสู่เว็บไซต์ของบริษัทฯ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save