หลาย ๆ คน อาจจะยังมีความสงสัยในความหมายของ
withholding tax หรือ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ว่าคืออะไร ใครมีหน้าที่ต้องหัก และใครมีหน้าที่ต้องจ่าย วันนี้เรามาดูไปพร้อมกันค่ะ
ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย คือเงินที่คน “จ่าย” ที่จดทะเบียนเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลต้อง “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายเงินให้กับคนรับที่เป็นนิติบุคคล หรือคนธรรมดาก็ได้ แล้วนำส่งเป็นภาษีให้กรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไปค่ะ
และเปอร์เซนต์ที่ถูกหัก ก็จะแตกต่างกันตามประเภทค่าใช้จ่ายดังนี้ค่ะ
1. หัก 1% สำหรับ ค่าขนส่ง
2. หัก 2% สำหรับค่าโฆษณา
3. หัก 3% สำหรับจ้างรับเหมาหรือบริการต่าง ๆ
4. หัก 5% สำหรับค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์
5. ไม่หัก สำหรับยอดที่ไม่เกิน 1,000 บาท
แต่ที่มีสัญญาต่อเนื่อง เช่น ค่าบริการโทรศัพท์รายเดือน ค่าบริการอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ เพราะยอดทั้งปีเกิน 1,000 บาท
และปัจจุบัน ยังมีบริการ e-Withholding Tax ซึ่งเป็นบริการใหม่ของกรมสรรพากร โดยเป็นช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้เสียภาษีในการนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายอีกด้วย ซึ่งจะมีความสะดวกสบายตอบโจทย์ในยุค digital Transformation อย่างมากเลยค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : flowaccount.com
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือการหักภาษี ณ ที่จ่าย ไฟล์ PDF จัดทำโดยกรมสรรพากร : http://www.rd.go.th/…/insight_pasi/wht_3_53_030260.pdf
แนะนำบริการและบทความดีๆจาก Brainergy
ระบบจัดการภาษีอิเล็กทรอนิกส์ e-Tax Invoice and e-Receipt ถึงเวลาเปลี่ยน!! จากเอกสารภาษีแบบเดิมๆ