ลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย จากปกติ 3% เหลือ 2% วันที่ 1 ตุลาคม 2563 – 31 ธันวาคม 2564

กระทรวงการคลังได้มีประกาศกฎกระทรวงโดยราชกิจานุเบกษา ให้มีการลดอัตราภาษี หัก ณ ที่จ่าย ช่วงวันที่ 1 ตุลาคม 2563 – 31 ธันวาคม 2564 จากปกติ 3% เหลือ 2%
สำหรับผู้ที่ใช้ช่องทางผ่านระบบ e-Withholding Tax หรือภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ เท่านั้น

แล้ว e-Withholding Tax คืออะไร และเกิดขึ้นได้อย่างไรนั้น เราจะขออธิบายให้ทุกท่านได้เข้าใจ ดังนี้ค่ะ

e-withholding tax คือ การดำเนินการหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารผู้รับเงิน โดยกฎหมายจะกำหนดให้ผู้หักภาษี (ผู้จ่ายเงิน) ส่งข้อมูลการหักภาษี ณ ที่จ่ายของผู้รับเงิน พร้อมโอนเงินไปยังธนาคารที่ให้บริการ e-withholding tax แล้วธนาคารจะมีหน้าที่เป็นตัวกลางโดยทำการดังนี้
1. หักภาษีตามยอดที่แจ้ง นำส่งเงินภาษีให้กับกรมสรรพากร
2. โอนเงินที่ได้ทำการหักภาษีหัก ณ ที่จ่ายแล้วไปให้ผู้รับเงิน

และจากเดิมที่ผู้จ่ายเงินจะต้องทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (มาตรา 50 ทวิ) ให้ผู้รับเงินและจัดเก็บสำเนาเอกสารไว้เป็นหลักฐานเองนั้น หากเป็นระบบ e-withholding tax นี้ ผู้จ่ายเงินไปต้องดำเนินการจั้นตอนนี้ค่ะ โดยจะมีธนาคารเป็นตัวกลางดำเนินการและนำส่งข้อมูลและภาษีที่หักไว้ไปยังกรมสรรพากร ไม่เกิน 4 วันทำการถัดจากวันที่ธนาคารได้รับเงินค่ะ และผู้รับยังสามารถทำการตรวจสอบข้อมูลของตนเองได้ตลอดผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากรค่ะ

ง่ายและสะดวกใช่ไหมคะ 

 

แล้วใครบ้าง ? ที่จะได้รับการลดหย่อนอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย จากปกติ 3% เหลือ 2% โดยผ่านระบบ e-withholding Tax นี้ ตามกฎกระทรวงได้ประกาศไว้ตามข้อมูลข้างล่างนี้ค่ะ

1. (ก) การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ และมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร

ซึ่งได้แก่ เงินได้จากหน้าที่หรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้าง ค่านายหน้า ค่าคอมมิชชั่น ค่าธรรมเนียม ค่าส่วนลด เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม ค่าสอน บำเหน็จ เงินโบนัส เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ที่ผู้จ่ายเงินให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า

2. (ข) การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นเงินได้จากค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิ์อย่างอื่น ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ และมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร

ซึ่งคือบริษัทที่ได้รับเงินค่าลิขสิทธิ์ เช่น ลิขสิทธิ์เพลง บทประพันธ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เกม ภาพ รวมไปถึงชื่อเสียงทางการค้า แต่เป็นในส่วนของบริษัทเท่านั้น ไม่รวมบุคคลธรรมดา

3. (ค) การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) และ (7) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ และมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร

ซึ่งได้แก่ ผู้รับเหมา ผู้รับงานจ้างต่าง ๆ โดยมีการรับเหมาทั้งค่าแรงและค่าของ โดยท่านเป็นผู้จัดหาแรงงาน เครื่องมือ และสัมภาระเอง เช่น รับเหมาก่อสร้าง, รับผลิตสินค้าตามแบบที่ลูกค้าต้องการ โดยที่ปกติท่านไม่ได้ทำขาย หรือผลิตตามแบบที่นอกเหนือจากในแค็ตตาล็อก ไม่ว่าจะเป็นผู้รับเหมาแบบบุคคลธรรมดา หรือเป็นบริษัทรับเหมา ก็ได้ลดภาษี ณ ที่จ่าย จาก 3% เหลือ 2% เช่นกัน

4. (ง) การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นเงินได้
จากการจ้างท าของ การจ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย และการให้บริการอื่น
ๆ นอกเหนือจากกรณีที่ก าหนดไว้ใน (3) (15) (16) และ (17) แต่ไม่รวมถึง
การจ่ายค่าบริการของโรงแรม ค่าบริการของภัตตาคาร และค่าเบี้ยประกันชีวิต ให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษี

ซึ่งได้แก่ คนที่ได้รับเงินปันผลต่าง ๆ กำไรจากการขาย LTF RMF รวมไปถึงเงินรางวัลจากการชิงโชค จับสลาก และอื่น ๆ นั่นเองค่ะ

การหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งข้อมูลและภาษีไปยังกรมสรรพากรจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ทั้งยังมีความปลอดภัย ตรวจสอบข้อมูลได้ทุกเวลา ด้วยระบบ e-withholding Tax

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :

เว็บไซต์กรมสรรพากร https://www.rd.go.th/

https://money.kapook.com/view223367.html

PDF ราชกิจานุเบกษา http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/A/026/T_0003.PDF

https://www.blognone.com/node/119277

 

เพื่อให้เป็นไปตาม พรบ.การคุ้มครองและป้องกัน ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน กรุณาศึกษารายละเอียด นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อรับทราบและยอมรับข้อตกลงต่างๆ กรุณาคลิก "ยินยอม" เพื่อเข้าสู่เว็บไซต์ของบริษัทฯ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save